Skin-dive-photo

การดำน้ำ Skin Dive

การดำน้ำแบบ Skin Diving นั้นมีความคล้ายคลึงกับ Snorkeling มากนั่นคือการดำน้ำแบบผิวน้ำ ที่มีความลึกค่อนข้างน้อยเน้นชมความสวยงาม ทั้งปะการัง หินน้ำ สัตว์ใต้ทะเลที่มีสีสันสวยงามทั้งหลาย สิ่งที่แตกต่างระหว่างการดำน้ำแบบ Skin Diving กับ Snorkeling นั้นคือ Skin Diving จะเป็นการดำน้ำแบบไม่ใส่เสื้อชูชีพ รวมทั้งต้องมีทักษะพิเศษ เช่น การดำแบบ Duck Dive สามารถดำลงไปได้ประมาณ 2 – 3 เมตร และอาจมีการว่ายน้ำภายใต้ผิวน้ำ ต้องมีการกลั้นหายใจเป็นระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งความแตกต่างของระหว่างการดำน้ำแบบ Skin Diving กับ Snorkeling หากนำมาเปรียบเทียบกับกับ freediving ที่เป็นกีฬา คือ Snorkeling กับ Skin Diving เป็นการดำเพื่อการหย่อนใจชมความสวยงาม ไม่ใช่กีฬาแต่อย่างใด

pic-Skindive

อุปกรณ์ของการดำน้ำแบบ Skin dive

  • หน้ากาก
  • ท่อหายใจ
  • ตีนกบ หรือฟิน

การดำน้ำแบบ Skin Diving เป็นการดำน้ำบนผิวน้ำที่ต้องใช้ทักษะมากกว่า Snorkeling เป็นการดำน้ำชมปะการัง และสัตว์น้ำตื้นทั้งหลาย การดำแบบนี้จำเป็นต้องใช้ทักษะในการว่ายน้ำรวมทั้งการเคลียร์ท่อหายใจด้วย โดยผู้ดำน้ำจะสวม หน้ากาก และ Snorkel เช่นเดียวกันแต่จะไม่สวมเสื้อชูชีพให้เกะกะ รวมทั้งสวมตีนกบ เพื่อช่วยให้ว่ายน้ำเร็วขึ้น การดำแบบนี้ โดยทั่วไปเมื่อคนเราคว่ำหน้าลงน้ำ สวมหน้ากาก คาบ Snorkel เรียบร้อยแล้ว ร่างกายจะลอยปริ่มน้ำเอง ส่วนปลายท่อจะลอยพ้นน้ำแบบอัตโนมัติ ทำให้คนที่ว่ายน้ำไม่เป็นหรือไม่แข็ง ก็สามารถดำได้ เพียงแค่ตีขาแหวกน้ำและทรงตัวเป็น ก็ดำได้แล้ว ส่วนเหตุผลที่การดำแบบนี้ไม่สวมเสื้อชูชีพ เนื่องจากในบางครั้งผู้ดำน้ำต้องดำลงไปใต้น้ำประมาณ 1-3 โดยการกลั้นหายใจ ใช้ตีนกบช่วยส่งตัวเราลงไปใต้น้ำ เท่านี้คุณก็สามารถลงไปสัมผัสโลกใต้น้ำอย่างใกล้ชิดได้อีกในระดับนึง แถมยังถ่ายรูปใต้น้ำได้อีกด้วย แต่เพราะต้องกลั้นหายใจ ดังนั้นมักจึงลงไปได้เพียงแค่ไม่ถึงนาที หรือ ไม่เกิน 1-2 นาทีเท่านั้น เมื่อใกล้หมดลม ก็ต้องพุ่งขึ้นมาสู่ผิวน้ำโดยทันที และตอนที่เราลงไปใต้น้ำจะมีน้ำไหลเข้าไปในท่อ เมื่อพ้นขึ้นมาถึงผิวน้ำแล้วก่อนที่จะหายใจ ต้องทำการเป่าลมแรงๆ เพื่อไล่น้ำจากท่อให้เกลี้ยง ก่อนหายใจเข้าไปใหม่อีกครั้ง การดำลงไปใต้น้ำ แม้จะไม่ลึกมากแต่ด้วยแรงกดที่เพิ่มขึ้น บางคนอาจรู้สึกปวดหูบ้าง ดังนั้นการเคลียร์หู จะช่วยลดอาการได้ดี ทำโดยการปิดปากปิดจมูกออกแรงเป่าลม นั่นเอง